โรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร

Navamindarajudis Krungthepmahanakhon

ข้อมูลทั่วไป

โรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ ประเภทสหศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 115 หมู่ 11 ซอยนวมินทร์ 163 (อมรวิวัฒน์) ถนนนวมินทร์ แขวงนวลจันทร์ เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร เป็นโรงเรียนสหศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2528 โดยกระทรวงศึกษาธิการ มี นายกนก จันทร์ขจร เป็นผู้อำนวยการท่านแรก

 

ชื่อสถานศึกษา  โรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร

 

NAVAMINDARAJUDIS KRUNGTHEPMAHANAKHON SCHOOL

สถานที่ตั้ง เลขที่ 115 ซอยนวมินทร์163 ถนนนวมินทร์ แขวงนวลจันทร์
เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร 10230
เนื้อที่ 17 ไร่ 24 ตารางวา
โทรศัพท์ 0-2944-1225 , 0-2944-1226
โทรสาร 0-2510-5509
e-mail nmk.ac.th@hotmail.com
website https://nmk.ac.th/
สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2
เปิดสอนตั้งแต่ระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6
เขตพื้นที่บริการ เขตบึงกุ่ม เขตคันนายาว และเขตบางเขนเฉพาะแขวงท่าแร้ง
แผนชั้นเรียน มัธยมศึกษาตอนต้น 12 – 12 – 12

 

มัธยมศึกษาตอนปลาย 8 - 8 - 8

สัญลักษณ์โรงเรียน ตราสัญลักษณ์พระราชทาน พระมหาพิชัยมงกุฎ

 

 

อักษรย่อ น.ม.ก.
ปรัชญาของโรงเรียน  ความรู้คู่คุณธรรม
พระพุทธรูปประจําโรงเรียน พระพุทธชินราช
คําขวัญประจําโรงเรียน รักษ์ศักดิ์ศรี มีคุณธรรม นําวิชาการ สืบสานงานพระราชดําริ
สีประจําโรงเรียน สีน้ําเงิน – เหลือง
ต้นไม้ประจําโรงเรียน ต้นราชพฤกษ์
ดอกไม้ประจําโรงเรียน ดอกราชพฤกษ

 

ประวัติ

โรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญ พระชนมายุ ครบ 5 รอบ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 โดยมีนายประสงค์ อ้นสุวรรณ ผู้สนใจในการศึกษาได้ติดต่อและประสานงาน เรื่องการบริจาคที่ดินจากคหบดีและคหปตานี ร่วมกันบริจาคที่ดินจำนวน 17 ไร่ 24 ตารางวา ซึ่งเป็นเครือญาติจำนวน 6 ราย ดังนี้คือ

 

  • นางเสริม น้อยสิริ
  • นายมุข ทับเจริญ
  • นายริด สุวรรณน้อย
  • นางสาวศรีอำพร อ้นสุวรรณ
  • นางสาวสายสุดา อ้นสุวรรณ
  • นายสุนันท์ อ้นสุวรรณ

 

ประกาศตั้งโรงเรียนเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2528 ใช้ชื่อว่าโรงเรียนนวมราชูทิศ กรุงเทพมหานคร มีนายกนก จันทร์ขจร ผู้อำนวยการโรงเรียนมักกะสันพิทยา รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ เปิดทำการสอนนักเรียนรุ่นแรกจำนวน 307 คน ในปีการศึกษา 2528 โดยอาศัยอาคารเรียนของโรงเรียนแย้มจาดวิชชานุสรณ์และมีอาจารย์จากโรงเรียนมักกะสันพิทยา จำนวน 6 ท่านดำเนินการจัดการเรียนการสอน

 

ต่อมากระทรวงศึกษาธิการเห็นสมควรเปลี่ยนชื่อโรงเรียน เพื่อความสมบูรณ์และความไพเราะในเชิงอักษรศาสตร์ จึงได้ประกาศ ให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2528

 

วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2528 โรงเรียนได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนทรงไทย 3 ชั้น หลังแรก โดย ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นประธานในพิธี อาคารหลังนี้ไดรับความอนุเคราะห์จากพระราชปัญญาโกศล เป็นประธาน อุปถัมภ์มูลนิธินวมราชานุสรณ์ และองค์อุปถัมภ์ โรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร (ในขณะนั้น) เป็นจำนวนเงิน 12 ล้านบาท โรงเรียนจึงได้ ตั้งชื่ออาคารหลังนี้ว่า อาคารพระราชปัญญาโกศล ต่อมาในปีการศึกษา 2529 จึงได้ย้ายมาเรียนในอาคารชั่วคราวที่ชุมชนได้ร่วมใจกันสร้าง เป็นสถานที่เรียนบนที่ดินของโรงเรียน โดยสามารถ ใช้ประโยชน์จากอาคารพระราชปัญญาโกศลบางส่วนเป็นห้องเรียน และสำนักงาน

 

โรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานครและโรงเรียนอีก 4 โรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรตินวมินทราชูทิศ ๕ ภูมิภาค ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้อัญเชิญพระมหาพิชัยมงกุฎครอบอุณาโลม รองรับด้วยโมลี ๒ ชั้น มีชื่อแต่ละโรงเรียนอยู่ภายใน เป็นตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียน และเข็มตราสัญลักษณ์ประดับอกเสื้อนักเรียน เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕

 

ปัจจุบัน มีอาคารเรียนแบบพิเศษ 4 ชั้น รูปตัว E จำนวน 67 ห้องเรียน และอาคารพระราชปัญญาโกศล จำนวน 12 ห้อง อาคารหอประชุมแบบพิเศษ 2 ชั้น 1 หลัง อาคารพยาบาล 1 หลัง อาคารประชาสัมพันธ์ 1 หลัง และอาคารโรงฝึกงาน 2 ชั้น 1 หลัง

 

ทำเนียบผู้อำนวยการโรงเรียนนวมินทราชูทิศ กรุงเทพมหานคร

รายชื่อ
ระยะเวลาอยู่ในตำแหน่ง
1. นายกนก จันทร์ขจร พ.ศ. 2528
2. นายมนตรี จำนงค์ พ.ศ. 2528 — พ.ศ. 2530
3. นายปรีชา สนแจ้ง พ.ศ. 2530 — พ.ศ. 2531
4. นายอำนาจ ผิวขำ พ.ศ. 2531 — พ.ศ. 2534
5. นางพรรณี เพ็งเนตร พ.ศ. 2534 — พ.ศ. 2537
6. นายณรงค์ บัวเกษ พ.ศ. 2537 — พ.ศ. 2542
7. ดร. อ่องจิต เมธยะประภาส พ.ศ. 2542 — พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2552 — พ.ศ. 2553
8. นายอุดร บุญถาวร พ.ศ. 2544 — พ.ศ. 2550
9. นางทิพย์รัตน์ เด่นดำรงวิทย์ พ.ศ. 2550 — พ.ศ. 2552
10. นายสหชัย สาสวน พ.ศ. 2554 — พ.ศ. 2557
11. นายประสงค์ สุบรรณพงษ์ พ.ศ. 2557 — พ.ศ. 2559
12. นายสุรศักดิ์ การุญ พ.ศ. 2559 — พ.ศ. 2567
13. นางสาวศิริกุล เก่าราชการ พ.ศ. 2567 — ปัจจุบัน